วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

จิตรกรรมพื้นบ้าน


จิตรกรรมแบบพื้นบ้านที่เกิดโดยช่างชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นเป็นผู้สร้าง
ประเภทของจิตรกรรมไทยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ จิตรกรรมที่เคลื่อนที่ได้เช่น สมุดข่อย ภาพมหาชาติ ตู้พระธรรมคัมภีร์(ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลายรดน้ำหรือลายกำมะลอ)และภาพพระบฏซึ่งเป็นแผ่นผ้าที่จิตรกรไทยโบราณเขียนภาพพระพุทธเจ้าไว้บูชาแทนรูปประติมากรรม พระบฏโบราณมักเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับยืนบนฐานดอกบัว มีอัครสาวกยืนพนมมือ 2 ข้าง สำหรับจิตรกรรมไทยประเภทที่สองคือจิตรกรรมแบบที่เคลื่อนที่ไม่ได้เพราะเขียนลงบนตัวอาคารเช่นฝาผนัง เพดาน เสา ขื่อ คาน คอสองและบานประตูหน้าต่าง รวมเรียกว่า “จิตรกรรมฝาผนัง” ซึ่งจะอยู่ตามวัดต่างๆ และมักเขียนที่อุโบสถ วิหาร ศาลา หอไตร กรุในพระเจดีย์หรือพระปรางค์ โดยเรื่องที่เขียนส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องพุทธประวัติ เทพชุมนุม ไตรภูมิ ชาดก วรรณกรรมทางศาสนา ตำนาน นิทานพื้นบ้าน พระราชประเพณี ประเพณี ปริศนาธรรมและเหตุการณ์สำคัญต่างๆ
ลักษณะของจิตรกรรมไทยหรือที่เรียกว่า “จิตรกรรมไทยประเพณี” นั้นคือจิตรกรรมฯที่สร้างสรรค์ขึ้นตามแบบแผนที่ทำสืบต่อกันมา โดยจิตรกรรมส่วนใหญ่มักเขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว เป็นงานที่จะเขียนช้าหรือเร็วได้ตามสบาย ไม่เร่งร้อนอย่างการเขียนด้วยเทคนิคสีปูนเปียกซึ่งต้องเขียนแข่งกับเวลาเพราะต้องให้เสร็จทันก่อนปูนแห้ง ดังนั้นจิตรกรรมไทยจึงมีความประณีตละเอียดอ่อนและสวยงาม
จิตรกรรมไทยประเพณีโบราณมีลักษณะพิเศษคือตัวภาพจะมีขนาดเล็กโดยเฉพาะภาพสถาปัตยกรรมจะมีลักษณะเพียงสื่อความหมายของอาคารนั้นๆ ไม่ได้แสดงสัดส่วนให้สัมพันธ์กับภาพบุคคลในอาคารเพียงแต่เน้นความงดงามเป็นสำคัญ นอกจากตัวภาพจะมีขนาดเล็กแล้วจิตรกรยังนิยมวาดภาพบุคคลโดยไม่แสดงความรู้สึกทางใบหน้าแต่จะสื่อความหมายหรือแสดงพฤติกรรมต่างๆ ด้วยกิริยาอาการและอิริยาบทอื่นๆ นอกจากนี้วิธีการเขียนภาพก็จะไม่มีปริมาตร เป็นรูปแบบราบไม่เป็นภาพที่มีระยะใกล้ไกล ทั้งนี้เพราะจิตรกรต้องการให้เห็นภาพได้ตลอดทั่วทั้งผนัง
ภาพกษัตริย์ เทพและสัตว์หิมพานต์มีลักษณะตัวภาพประณีต งดงาม เป็นการเขียนที่เกิดจากจินตนาการและอุดมคติที่เต็มไปด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนา รวมทั้งเรื่องที่เขียนยังแสดงเรื่องเกี่ยวกับคติธรรม หรือชาดก ตำนานทางพระพุทธศาสนาด้วย
ยุคสมัยแห่ง “จิตรกรรมไทยประเพณี” เริ่มในสมัยประวัติศาสตร์ยุค” ทวารวดี” เป็นภาพลายเส้นสลักบนแผ่นหิน แผ่นอิฐและแผ่นโลหะ ดุนเป็นรูปคน สัตว์และลวดลาย มีอิทธิพลของศิลปะคุปตะจากประเทศอินเดีย ต่อมาในสมัยศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13-14 ภาพจิตรกรรมฯ เริ่มมีลักษณะเฉพาะ และเขียนขึ้นด้วยความมุ่งหมายทางพุทธศาสนา สมัยสุโขทัยจิตรกรรมฯส่วนใหญ่เน้นหนักไปทางลายเส้นบนหินเช่น ภาพลายเส้นที่วัดศรีชุมซึ่งเป็นภาพชาดกต่างๆ มีลักษณะตัวภาพที่อ่อนหวานเป็นธรรมชาติ เป็นอิทธิพลของศิลปกรรมจากอินเดียและศรีลังกา ซึ่งเป็นแบบอย่างของจิตรกรรมไทยประเพณีในยุคต่อมาจิตรกรรมแบบพื้นบ้านที่เกิดโดยช่างชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นเป็นผู้สร้าง
ประเภทของจิตรกรรมไทยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ จิตรกรรมที่เคลื่อนที่ได้เช่น สมุดข่อย ภาพมหาชาติ ตู้พระธรรมคัมภีร์(ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลายรดน้ำหรือลายกำมะลอ)และภาพพระบฏซึ่งเป็นแผ่นผ้าที่จิตรกรไทยโบราณเขียนภาพพระพุทธเจ้าไว้บูชาแทนรูปประติมากรรม พระบฏโบราณมักเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับยืนบนฐานดอกบัว มีอัครสาวกยืนพนมมือ 2 ข้าง สำหรับจิตรกรรมไทยประเภทที่สองคือจิตรกรรมแบบที่เคลื่อนที่ไม่ได้เพราะเขียนลงบนตัวอาคารเช่นฝาผนัง เพดาน เสา ขื่อ คาน คอสองและบานประตูหน้าต่าง รวมเรียกว่า “จิตรกรรมฝาผนัง” ซึ่งจะอยู่ตามวัดต่างๆ และมักเขียนที่อุโบสถ วิหาร ศาลา หอไตร กรุในพระเจดีย์หรือพระปรางค์ โดยเรื่องที่เขียนส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องพุทธประวัติ เทพชุมนุม ไตรภูมิ ชาดก วรรณกรรมทางศาสนา ตำนาน นิทานพื้นบ้าน พระราชประเพณี ประเพณี ปริศนาธรรมและเหตุการณ์สำคัญต่างๆ
ลักษณะของจิตรกรรมไทยหรือที่เรียกว่า “จิตรกรรมไทยประเพณี” นั้นคือจิตรกรรมฯที่สร้างสรรค์ขึ้นตามแบบแผนที่ทำสืบต่อกันมา โดยจิตรกรรมส่วนใหญ่มักเขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว เป็นงานที่จะเขียนช้าหรือเร็วได้ตามสบาย ไม่เร่งร้อนอย่างการเขียนด้วยเทคนิคสีปูนเปียกซึ่งต้องเขียนแข่งกับเวลาเพราะต้องให้เสร็จทันก่อนปูนแห้ง ดังนั้นจิตรกรรมไทยจึงมีความประณีตละเอียดอ่อนและสวยงาม
จิตรกรรมไทยประเพณีโบราณมีลักษณะพิเศษคือตัวภาพจะมีขนาดเล็กโดยเฉพาะภาพสถาปัตยกรรมจะมีลักษณะเพียงสื่อความหมายของอาคารนั้นๆ ไม่ได้แสดงสัดส่วนให้สัมพันธ์กับภาพบุคคลในอาคารเพียงแต่เน้นความงดงามเป็นสำคัญ นอกจากตัวภาพจะมีขนาดเล็กแล้วจิตรกรยังนิยมวาดภาพบุคคลโดยไม่แสดงความรู้สึกทางใบหน้าแต่จะสื่อความหมายหรือแสดงพฤติกรรมต่างๆ ด้วยกิริยาอาการและอิริยาบทอื่นๆ นอกจากนี้วิธีการเขียนภาพก็จะไม่มีปริมาตร เป็นรูปแบบราบไม่เป็นภาพที่มีระยะใกล้ไกล ทั้งนี้เพราะจิตรกรต้องการให้เห็นภาพได้ตลอดทั่วทั้งผนัง
ภาพกษัตริย์ เทพและสัตว์หิมพานต์มีลักษณะตัวภาพประณีต งดงาม เป็นการเขียนที่เกิดจากจินตนาการและอุดมคติที่เต็มไปด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนา รวมทั้งเรื่องที่เขียนยังแสดงเรื่องเกี่ยวกับคติธรรม หรือชาดก ตำนานทางพระพุทธศาสนาด้วย
ยุคสมัยแห่ง “จิตรกรรมไทยประเพณี” เริ่มในสมัยประวัติศาสตร์ยุค” ทวารวดี” เป็นภาพลายเส้นสลักบนแผ่นหิน แผ่นอิฐและแผ่นโลหะ ดุนเป็นรูปคน สัตว์และลวดลาย มีอิทธิพลของศิลปะคุปตะจากประเทศอินเดีย ต่อมาในสมัยศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13-14 ภาพจิตรกรรมฯ เริ่มมีลักษณะเฉพาะ และเขียนขึ้นด้วยความมุ่งหมายทางพุทธศาสนา สมัยสุโขทัยจิตรกรรมฯส่วนใหญ่เน้นหนักไปทางลายเส้นบนหินเช่น ภาพลายเส้นที่วัดศรีชุมซึ่งเป็นภาพชาดกต่างๆ มีลักษณะตัวภาพที่อ่อนหวานเป็นธรรมชาติ เป็นอิทธิพลของศิลปกรรมจากอินเดียและศรีลังกา ซึ่งเป็นแบบอย่างของจิตรกรรมไทยประเพณีในยุคต่อมา
จิตรกรรมฯสมัยอยุธยาตอนต้น เริ่มประมาณ พ.ศ.1895-2173 ภาพที่เขียนมีแนวคิดแบบเก่า คือนิยมเขียนเป็นภาพพระพุทธรูปประทับนั่ง เบื้องหลังมีซุ้มหรือประภามณฑล มีพระอัครสาวกกระทำการสักการะอยู่ทั้งสองข้างเช่น จิตรกรรมที่กรุเจดีย์วัดมหาธาตุและวัดพระราม จ.พระนครศรีอยุธยา มาในสมัยอยุธยาตอนปลายระหว่าง พ.ศ.2173-2310 ยุคนี้ฝีมือช่างต่างๆ ของกรุงศรีอยุธยาก้าวหน้าขึ้นเพราะมีชาวต่างประเทศเข้ามาติดต่อมากขึ้น จึงนำศิลปวิทยาการใหม่ๆ เข้ามาเผยแพร่ จิตรกรรมฯในยุคนี้จึงเจริญขึ้นอย่างสูง คือเขียนได้ทั้งภาพเหมือนตามแบบอย่างของศิลปตะวันตกและเขียนภาพธรรมชาติตลอดจนบ้านเรือนตามแบบจีน ภาพชาวจีนหรือลวดลายกระบวนจีน เช่นที่ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรย์ และวิหารวัดใหม่ชุมพล จ.พระนครศรีอยุธยา หรือที่อุโบสถวัดปราสาท จ.นนทบุรี อุโบสถวัดช่องนนทรี กรุงเทพฯ เป็นต้น
ในสมัยธนบุรีศิลปของจิตรกรรมไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากคงสืบแบบศิลปสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่พอก้าวเข้าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นับแต่ พ.ศ.2325 เป็นต้นมา การเขียนภาพก็ยังคงยึดถือแบบอย่างในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีเทคนิคและอุดมคติแบบจิตรกรรมไทยประเพณีเหมือนเดิม แต่มีการใช้สีโดยเพิ่มสีที่สดใสเข้าไป มีการประดิษฐ์ลวดลายภาพให้วิจิตรขึ้น และเนื่องจากตัวสถาปัตยกรรมคืออุโบสถหรือวิหารในสมัยรัตนโกสินทร์มีประตูหน้าต่างมากกว่าสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาจึงทำให้มีแสงสว่างเข้าไปภายในอาคารมากขึ้น เพราะฉะนั้นโครงสีพื้นผนังเดิมของจิตรกรรม จากที่เคยใช้พื้นภาพสีขาวหรือสีอ่อนแบบจิตรกรรมอยุธยาก็ได้เปลี่ยนเป็นใช้พื้นสีดำ น้ำเงิน หรือสีเข้มคล้ำ ซึ่งเป็นการขับตัวภาพให้เด่นขึ้น ทั้งยังนิยมเขียนภพชาวต่างประเทศโดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 2 นิยมเขียนภาพจิตรกรรมที่มีสถาปัตยกรรมแบบจีน มีต้นไม้ ภูเขา และสัตว์คล้ายแบบจีน ความนิยมเขียนภาพเรื่องพุทธประวัติ ชาดกและวรรณกรรมทางศาสนาก็ยังคงเหมือนเดิมในช่วงรัชกาลนี้
ความเปลี่ยนแปลงของงานจิตรกรรมฝาผนังเริ่มในรัชกาลที่ 4 โดยจุดมุ่งหมายและอุดมคติในการเขียนภาพเริ่มเปลี่ยนไป นิยมเขียนภาพตามแบบจิตรกรรมตะวันตกที่มีระยะใกล้ไกล ไม่เน้นเขียนภาพเพื่อสักการะบูชาหรือเพื่อประดับศาสนสถาน แต่เขียนเพื่อให้ผู้มาบำเพ็ญศาสนกิจได้ชม ได้พิจารณาเพื่อให้เกิดความเข้าใจในพระธรรม จึงเกิดภาพปริศนาธรรมมากขึ้น และมีภาพเกี่ยวกับประเพณี พระราชพิธีต่างๆ มากมาย เช่นภาพปริศนาธรรมที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารหรือที่วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น: