วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

จิตรกรรมพื้นบ้าน


จิตรกรรมแบบพื้นบ้านที่เกิดโดยช่างชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นเป็นผู้สร้าง
ประเภทของจิตรกรรมไทยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ จิตรกรรมที่เคลื่อนที่ได้เช่น สมุดข่อย ภาพมหาชาติ ตู้พระธรรมคัมภีร์(ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลายรดน้ำหรือลายกำมะลอ)และภาพพระบฏซึ่งเป็นแผ่นผ้าที่จิตรกรไทยโบราณเขียนภาพพระพุทธเจ้าไว้บูชาแทนรูปประติมากรรม พระบฏโบราณมักเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับยืนบนฐานดอกบัว มีอัครสาวกยืนพนมมือ 2 ข้าง สำหรับจิตรกรรมไทยประเภทที่สองคือจิตรกรรมแบบที่เคลื่อนที่ไม่ได้เพราะเขียนลงบนตัวอาคารเช่นฝาผนัง เพดาน เสา ขื่อ คาน คอสองและบานประตูหน้าต่าง รวมเรียกว่า “จิตรกรรมฝาผนัง” ซึ่งจะอยู่ตามวัดต่างๆ และมักเขียนที่อุโบสถ วิหาร ศาลา หอไตร กรุในพระเจดีย์หรือพระปรางค์ โดยเรื่องที่เขียนส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องพุทธประวัติ เทพชุมนุม ไตรภูมิ ชาดก วรรณกรรมทางศาสนา ตำนาน นิทานพื้นบ้าน พระราชประเพณี ประเพณี ปริศนาธรรมและเหตุการณ์สำคัญต่างๆ
ลักษณะของจิตรกรรมไทยหรือที่เรียกว่า “จิตรกรรมไทยประเพณี” นั้นคือจิตรกรรมฯที่สร้างสรรค์ขึ้นตามแบบแผนที่ทำสืบต่อกันมา โดยจิตรกรรมส่วนใหญ่มักเขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว เป็นงานที่จะเขียนช้าหรือเร็วได้ตามสบาย ไม่เร่งร้อนอย่างการเขียนด้วยเทคนิคสีปูนเปียกซึ่งต้องเขียนแข่งกับเวลาเพราะต้องให้เสร็จทันก่อนปูนแห้ง ดังนั้นจิตรกรรมไทยจึงมีความประณีตละเอียดอ่อนและสวยงาม
จิตรกรรมไทยประเพณีโบราณมีลักษณะพิเศษคือตัวภาพจะมีขนาดเล็กโดยเฉพาะภาพสถาปัตยกรรมจะมีลักษณะเพียงสื่อความหมายของอาคารนั้นๆ ไม่ได้แสดงสัดส่วนให้สัมพันธ์กับภาพบุคคลในอาคารเพียงแต่เน้นความงดงามเป็นสำคัญ นอกจากตัวภาพจะมีขนาดเล็กแล้วจิตรกรยังนิยมวาดภาพบุคคลโดยไม่แสดงความรู้สึกทางใบหน้าแต่จะสื่อความหมายหรือแสดงพฤติกรรมต่างๆ ด้วยกิริยาอาการและอิริยาบทอื่นๆ นอกจากนี้วิธีการเขียนภาพก็จะไม่มีปริมาตร เป็นรูปแบบราบไม่เป็นภาพที่มีระยะใกล้ไกล ทั้งนี้เพราะจิตรกรต้องการให้เห็นภาพได้ตลอดทั่วทั้งผนัง
ภาพกษัตริย์ เทพและสัตว์หิมพานต์มีลักษณะตัวภาพประณีต งดงาม เป็นการเขียนที่เกิดจากจินตนาการและอุดมคติที่เต็มไปด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนา รวมทั้งเรื่องที่เขียนยังแสดงเรื่องเกี่ยวกับคติธรรม หรือชาดก ตำนานทางพระพุทธศาสนาด้วย
ยุคสมัยแห่ง “จิตรกรรมไทยประเพณี” เริ่มในสมัยประวัติศาสตร์ยุค” ทวารวดี” เป็นภาพลายเส้นสลักบนแผ่นหิน แผ่นอิฐและแผ่นโลหะ ดุนเป็นรูปคน สัตว์และลวดลาย มีอิทธิพลของศิลปะคุปตะจากประเทศอินเดีย ต่อมาในสมัยศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13-14 ภาพจิตรกรรมฯ เริ่มมีลักษณะเฉพาะ และเขียนขึ้นด้วยความมุ่งหมายทางพุทธศาสนา สมัยสุโขทัยจิตรกรรมฯส่วนใหญ่เน้นหนักไปทางลายเส้นบนหินเช่น ภาพลายเส้นที่วัดศรีชุมซึ่งเป็นภาพชาดกต่างๆ มีลักษณะตัวภาพที่อ่อนหวานเป็นธรรมชาติ เป็นอิทธิพลของศิลปกรรมจากอินเดียและศรีลังกา ซึ่งเป็นแบบอย่างของจิตรกรรมไทยประเพณีในยุคต่อมาจิตรกรรมแบบพื้นบ้านที่เกิดโดยช่างชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นเป็นผู้สร้าง
ประเภทของจิตรกรรมไทยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ จิตรกรรมที่เคลื่อนที่ได้เช่น สมุดข่อย ภาพมหาชาติ ตู้พระธรรมคัมภีร์(ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลายรดน้ำหรือลายกำมะลอ)และภาพพระบฏซึ่งเป็นแผ่นผ้าที่จิตรกรไทยโบราณเขียนภาพพระพุทธเจ้าไว้บูชาแทนรูปประติมากรรม พระบฏโบราณมักเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับยืนบนฐานดอกบัว มีอัครสาวกยืนพนมมือ 2 ข้าง สำหรับจิตรกรรมไทยประเภทที่สองคือจิตรกรรมแบบที่เคลื่อนที่ไม่ได้เพราะเขียนลงบนตัวอาคารเช่นฝาผนัง เพดาน เสา ขื่อ คาน คอสองและบานประตูหน้าต่าง รวมเรียกว่า “จิตรกรรมฝาผนัง” ซึ่งจะอยู่ตามวัดต่างๆ และมักเขียนที่อุโบสถ วิหาร ศาลา หอไตร กรุในพระเจดีย์หรือพระปรางค์ โดยเรื่องที่เขียนส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องพุทธประวัติ เทพชุมนุม ไตรภูมิ ชาดก วรรณกรรมทางศาสนา ตำนาน นิทานพื้นบ้าน พระราชประเพณี ประเพณี ปริศนาธรรมและเหตุการณ์สำคัญต่างๆ
ลักษณะของจิตรกรรมไทยหรือที่เรียกว่า “จิตรกรรมไทยประเพณี” นั้นคือจิตรกรรมฯที่สร้างสรรค์ขึ้นตามแบบแผนที่ทำสืบต่อกันมา โดยจิตรกรรมส่วนใหญ่มักเขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว เป็นงานที่จะเขียนช้าหรือเร็วได้ตามสบาย ไม่เร่งร้อนอย่างการเขียนด้วยเทคนิคสีปูนเปียกซึ่งต้องเขียนแข่งกับเวลาเพราะต้องให้เสร็จทันก่อนปูนแห้ง ดังนั้นจิตรกรรมไทยจึงมีความประณีตละเอียดอ่อนและสวยงาม
จิตรกรรมไทยประเพณีโบราณมีลักษณะพิเศษคือตัวภาพจะมีขนาดเล็กโดยเฉพาะภาพสถาปัตยกรรมจะมีลักษณะเพียงสื่อความหมายของอาคารนั้นๆ ไม่ได้แสดงสัดส่วนให้สัมพันธ์กับภาพบุคคลในอาคารเพียงแต่เน้นความงดงามเป็นสำคัญ นอกจากตัวภาพจะมีขนาดเล็กแล้วจิตรกรยังนิยมวาดภาพบุคคลโดยไม่แสดงความรู้สึกทางใบหน้าแต่จะสื่อความหมายหรือแสดงพฤติกรรมต่างๆ ด้วยกิริยาอาการและอิริยาบทอื่นๆ นอกจากนี้วิธีการเขียนภาพก็จะไม่มีปริมาตร เป็นรูปแบบราบไม่เป็นภาพที่มีระยะใกล้ไกล ทั้งนี้เพราะจิตรกรต้องการให้เห็นภาพได้ตลอดทั่วทั้งผนัง
ภาพกษัตริย์ เทพและสัตว์หิมพานต์มีลักษณะตัวภาพประณีต งดงาม เป็นการเขียนที่เกิดจากจินตนาการและอุดมคติที่เต็มไปด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนา รวมทั้งเรื่องที่เขียนยังแสดงเรื่องเกี่ยวกับคติธรรม หรือชาดก ตำนานทางพระพุทธศาสนาด้วย
ยุคสมัยแห่ง “จิตรกรรมไทยประเพณี” เริ่มในสมัยประวัติศาสตร์ยุค” ทวารวดี” เป็นภาพลายเส้นสลักบนแผ่นหิน แผ่นอิฐและแผ่นโลหะ ดุนเป็นรูปคน สัตว์และลวดลาย มีอิทธิพลของศิลปะคุปตะจากประเทศอินเดีย ต่อมาในสมัยศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13-14 ภาพจิตรกรรมฯ เริ่มมีลักษณะเฉพาะ และเขียนขึ้นด้วยความมุ่งหมายทางพุทธศาสนา สมัยสุโขทัยจิตรกรรมฯส่วนใหญ่เน้นหนักไปทางลายเส้นบนหินเช่น ภาพลายเส้นที่วัดศรีชุมซึ่งเป็นภาพชาดกต่างๆ มีลักษณะตัวภาพที่อ่อนหวานเป็นธรรมชาติ เป็นอิทธิพลของศิลปกรรมจากอินเดียและศรีลังกา ซึ่งเป็นแบบอย่างของจิตรกรรมไทยประเพณีในยุคต่อมา
จิตรกรรมฯสมัยอยุธยาตอนต้น เริ่มประมาณ พ.ศ.1895-2173 ภาพที่เขียนมีแนวคิดแบบเก่า คือนิยมเขียนเป็นภาพพระพุทธรูปประทับนั่ง เบื้องหลังมีซุ้มหรือประภามณฑล มีพระอัครสาวกกระทำการสักการะอยู่ทั้งสองข้างเช่น จิตรกรรมที่กรุเจดีย์วัดมหาธาตุและวัดพระราม จ.พระนครศรีอยุธยา มาในสมัยอยุธยาตอนปลายระหว่าง พ.ศ.2173-2310 ยุคนี้ฝีมือช่างต่างๆ ของกรุงศรีอยุธยาก้าวหน้าขึ้นเพราะมีชาวต่างประเทศเข้ามาติดต่อมากขึ้น จึงนำศิลปวิทยาการใหม่ๆ เข้ามาเผยแพร่ จิตรกรรมฯในยุคนี้จึงเจริญขึ้นอย่างสูง คือเขียนได้ทั้งภาพเหมือนตามแบบอย่างของศิลปตะวันตกและเขียนภาพธรรมชาติตลอดจนบ้านเรือนตามแบบจีน ภาพชาวจีนหรือลวดลายกระบวนจีน เช่นที่ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรย์ และวิหารวัดใหม่ชุมพล จ.พระนครศรีอยุธยา หรือที่อุโบสถวัดปราสาท จ.นนทบุรี อุโบสถวัดช่องนนทรี กรุงเทพฯ เป็นต้น
ในสมัยธนบุรีศิลปของจิตรกรรมไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากคงสืบแบบศิลปสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่พอก้าวเข้าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นับแต่ พ.ศ.2325 เป็นต้นมา การเขียนภาพก็ยังคงยึดถือแบบอย่างในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีเทคนิคและอุดมคติแบบจิตรกรรมไทยประเพณีเหมือนเดิม แต่มีการใช้สีโดยเพิ่มสีที่สดใสเข้าไป มีการประดิษฐ์ลวดลายภาพให้วิจิตรขึ้น และเนื่องจากตัวสถาปัตยกรรมคืออุโบสถหรือวิหารในสมัยรัตนโกสินทร์มีประตูหน้าต่างมากกว่าสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาจึงทำให้มีแสงสว่างเข้าไปภายในอาคารมากขึ้น เพราะฉะนั้นโครงสีพื้นผนังเดิมของจิตรกรรม จากที่เคยใช้พื้นภาพสีขาวหรือสีอ่อนแบบจิตรกรรมอยุธยาก็ได้เปลี่ยนเป็นใช้พื้นสีดำ น้ำเงิน หรือสีเข้มคล้ำ ซึ่งเป็นการขับตัวภาพให้เด่นขึ้น ทั้งยังนิยมเขียนภพชาวต่างประเทศโดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 2 นิยมเขียนภาพจิตรกรรมที่มีสถาปัตยกรรมแบบจีน มีต้นไม้ ภูเขา และสัตว์คล้ายแบบจีน ความนิยมเขียนภาพเรื่องพุทธประวัติ ชาดกและวรรณกรรมทางศาสนาก็ยังคงเหมือนเดิมในช่วงรัชกาลนี้
ความเปลี่ยนแปลงของงานจิตรกรรมฝาผนังเริ่มในรัชกาลที่ 4 โดยจุดมุ่งหมายและอุดมคติในการเขียนภาพเริ่มเปลี่ยนไป นิยมเขียนภาพตามแบบจิตรกรรมตะวันตกที่มีระยะใกล้ไกล ไม่เน้นเขียนภาพเพื่อสักการะบูชาหรือเพื่อประดับศาสนสถาน แต่เขียนเพื่อให้ผู้มาบำเพ็ญศาสนกิจได้ชม ได้พิจารณาเพื่อให้เกิดความเข้าใจในพระธรรม จึงเกิดภาพปริศนาธรรมมากขึ้น และมีภาพเกี่ยวกับประเพณี พระราชพิธีต่างๆ มากมาย เช่นภาพปริศนาธรรมที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารหรือที่วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ เป็นต้น

จิตรกรรมพื้นบ้าน

ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย
ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย เป็นองค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลในท้องถิ่น รวมถึงงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีอยู่ในทุกภาคของประเทศ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก คือ ภูมิปัญญาฯประเภทองค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลท้องถิ่น เช่น การผลิตอาหารและเครื่องดื่ม การผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร การผลิตผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ และการผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ หิน โลหะ แก้ว เซรามิค ดินเผา เครื่องหนัง เป็นต้น ส่วนภูมิปัญญาอีกประเภท คือ ภูมิปัญญาฯประเภทงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น เรื่องเล่าพื้นบ้าน กวีนิพนธ์พื้นบ้าน ปริศนา พื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้าน การฟ้อนรำพื้นบ้าน ละครพื้นบ้าน จิตรกรรมพื้นบ้าน ประติมากรรมพื้นบ้าน หัตถกรรมพื้นบ้าน เครื่องแต่งกายพื้นบ้าน และสิ่งทอพื้นบ้าน เป็นต้น

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สุนทรียศาสตร์คืออะไร
สุนทรียศาสตร์คือ วิชาที่ว่าด้วยเรื่องความงามจากสิ่งรอบๆตัวไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นหรือสร้างทฤษฎีขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดความงามให้รับรู้ในรูปแบบต่างๆเช่นการวาดภาพ ดนตรี ศิลปกรรมต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีความงามหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของแต่ละบุคคลว่างามหรือไม่โดยอาศัยประสบการณ์ที่มีมาและการถ่ายทอดปลูกฝังตั้งแต่เด็กเป็นประสบการณ์
สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างไร
สามารถช่วยในเรื่องของกระบวนการคิด การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล ทำให้ผู้นั้นมีจิตใจอ่อนโยน และมองโลกในแง่ดี ไม่แข็งจนเกินไป นอกจากนั้น การเข้าใจในสุนทรีย์ศาสตร์ยังช่วยส่งเสริมให้มนุษย์ได้มีแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามต่างๆกันไป และทำให้เห็นความสำคัญของสิ่งต่างๆบนโลกใบนี้ ตลอดจนรู้จักนำสุนทรียศาสตร์ไปใช้ในชีวิตด้วยเหตุผล และความรู้สึกต่างๆได้อย่างเหมาะสม
สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพอย่างไร
วิชาชีพพยาบาลเป็นอาชีพที่ต้องปฏิบัติงานกับบุคคลซึ่งอยู่ในภาวะเจ็บป่วยโดยต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการให้การพยาบาล นั่นหมายถึง ผู้ป่วยเป็นบุคคลซึ่งมีจิตใจ มีความรู้สึก กลัวการเจ็บป่วย กลัวการตาย การให้การพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อวิชาชีพก่อน จากนั้นต้องมีความตั้งใจในการให้การพยาบาล เข้าใจความรู้สึก และเห็นใจผู้ป่วย ในการให้การพยาบาลควรปฏิบัติด้วยความนุ่มนวลพร้อมกับให้การพยาบาลอย่างมีคุณภาพ มีเหตุและผล ร่วมกับใช้ความรู้และศาสตร์ ซึ่งหมายถึงวิชาต่างๆที่ได้เรียนมานำมาใช้ให้สอดคล้องกับการพยาบาลต่อผู่ป่วยในแต่ละคนการเรียนสุนทรียศาสตร์ ช่วยทำให้มนุษย์เกิดความสมดุลย์ของกาย คือมีเหตุมีผล ของจิตคือ มีความรู้สึก นอกจากนั้น การเรียนสุนทรียศาสตร์ยังช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุมีผล และส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่งต่างๆในโลก จึงสอดคล้องกับงานวิชาชีพพยาบาล ในการดูแลให้การพยาบาลต่อผู้ป่วย และเพื่อนมนุษย์